ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่บริการประชาชน และใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานราชการต่างๆ เรียกได้ว่าการเรียกเก็บภาษีจากราษฎร เป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในการบริหารประเทศ เพื่อให้รัฐสามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่มีต่อประชาชน ในการดูแลความผาสุขของประชาชน และ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคล หรือนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ โดยทั่วไปภาษีทางตรงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินต่างๆ โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดเก็บ
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อขายสินค้าและบริการต่างๆ โดยเป็นภาษีที่สามารภผลักภาระทางภาษีทั้งหมด หรือบางส่วนไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภค เป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย โดยทั่วไปภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพามิต ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีทางการค้า ค่าธรรมเนียมอากรต่างๆ ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคล โดยมิได้พิจารณาฐานะความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคล นั้น
ประเภทภาษีในประเทศไทย
ประมวลรัษฎากรให้อำนาจกรมสรรพากร ในการจัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.อากรแสตมป์
credit:https://thwikipedia.org/wiki/ภาษี,http.//incquity.com/articles/money-talk/basic-tax,money.sanook/84961/,dict.long.com/search/ภาษีทางตรง,https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษีทางอ้อม